สังเกตคนดีที่ความประพฤติ
บุคคลผู้ประสงค์จะไปสู่ทิศที่ไม่เคยไป (คือ อายตนนิพพาน) ต้องตามรักษาจิตของตน เหมือนคนประคองภาชนะน้ำมันที่เต็มเสมอขอบปากที่ไม่พร่องไว้ฉะนั้น
อรูปภพ
คำว่าอรูปพรหม ไม่ได้หมายความว่า พรหมผู้ไม่มีรูปร่าง ท่านมีรูปกาย มีความสวยงามยิ่งกว่าพรหมในรูปภพเสียอีก ท่านสง่างามกว่า และประณีตกว่า เพราะท่านได้กายที่ใกล้เคียงลักษณะมหาบุรุษเข้าไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นกายที่สมบูรณ์แบบที่สุด ถ้าสูงขึ้นไปจากอรูปภพก็จะเป็นอายตนนิพพาน เหมือนคำว่าอมนุษย์ ไม่ได้หมายว่าไม่มีมนุษย์ เพียงแต่ว่าไม่ใช่มนุษย์เท่านั้นเอง อรูปพรหมก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีรูปพรหม แต่แปลว่า ไม่ใช่รูปพรหม
มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต - สั่งสมปัญญาบารมี
ความรู้ในพระไตรปิฎกนั้น ยิ่งศึกษายิ่งแตกฉาน ทำให้เราเข้าใจและรู้หนทางไปสู่อายตนนิพพานเพิ่มมากขึ้น เสมือนได้นั่งอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระบรมศาสดา กาย วาจา ใจ ของเราจะบริสุทธิ์เกลี้ยงเกลาตามพระองค์ไปด้วย ในตอนนี้จะได้อธิบายเกี่ยวกับหมวดพุทธวจนะ ในพระไตรปิฎก
ผู้มีราตรีเดียวเจริญ
พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจะมีในวันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่ ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นว่าผู้มีราตรีเดียวเจริญ
มัชฌิมาปฏิปทา เส้นทางสู่ความหลุดพ้น
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทาที่เป็นธรรมทำให้มีดวงตา ทำให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การเจรจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ
มาร ๕ ฝูง
ประทีปที่ส่องแสง ถ้ามีแสงน้อย ย่อมดับไปด้วยลมได้ เหมือนเถาวัลย์ที่เหี่ยวแห้งไป ฉันใด ท่านก็จงเป็นผู้ไม่ถือมั่น แล้วกำจัดมาร ผู้มีโคตรเสมอด้วยพระอินทร์ฉันนั้นเถิด เมื่อท่านกำจัดมารได้อย่างนี้แล้ว เป็นผู้ปราศจากความกำหนัดพอใจในเวทนาทั้งหลาย จะเป็นผู้มีความเย็น รอคอยเวลานิพพานในอัตภาพนี้ทีเดียว
อุปสรรคของการเจริญภาวนา
เครื่องกังวลในการบำเพ็ญภาวนามี ๑๐ อย่าง คือกังวลด้วยอาวาส ตระกูล ลาภ กังวลเพราะหมู่คณะ การทำงาน การเดินทาง ญาติพี่น้อง กังวลด้วยเรื่องความเจ็บป่วยไข้ การศึกษาเล่าเรียน และอิทธิฤทธิ์
หนทางสู่ธรรมกาย
ดูก่อนวาเสฏฐะ คำว่า ธรรมกายก็ดี คำว่า พรหมกายก็ดี คำว่า ธรรมภูต ก็ดี หรือคำว่า พรหมภูตก็ดี เป็นชื่อของพระตถาคต
รัตนะภายใน
ชนทั้งหลายย่อมแสดงธรรมกาย และไม่อาจทำบ่อเกิดแห่งรัตนะทั้งสิ้นให้กำเริบได้ ใครได้เห็นแล้วจะไม่เลื่อมใสเล่า
วิสาขามหาอุบาสิกา (มหาปราสาท)
พระเจ้ามหาปนาทนั้นมีปราสาทล้วนแล้วไปด้วยทอง กว้าง ๑๖ ชั่วธนูตก สูง ๑ พันชั่วธนู และปราสาทนั้นมีพื้น ๗ ชั้น ประกอบไปด้วยธง สำเร็จด้วยแก้วมีสีเขียว มีนางฟ้อน ๖ พัน แบ่งออกเป็น ๗ พวก ฟ้อนรำอยู่ในปราสาทนั้น