เทพบุตรมาร (๒)
รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น สัมผัสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่ารักน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและธรรมารมณ์ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ตกอยู่ในอำนาจของมาร ไม่ถูกมารครอบงำ เป็นผู้พ้นจากบ่วงมาร ภิกษุนั้น มารผู้มีบาปพึงใช้บ่วง ทำตามความปรารถนาไม่ได้
ผู้ขัดขวางการสร้างบารมี
ชนเหล่าใด จักสำรวมจิต ที่ท่องไปในที่ไกลๆ เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีสรีระ มีถ้ำเป็นที่อาศัย ชนเหล่านั้น จะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร
มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต - สั่งสมปัญญาบารมี
ความรู้ในพระไตรปิฎกนั้น ยิ่งศึกษายิ่งแตกฉาน ทำให้เราเข้าใจและรู้หนทางไปสู่อายตนนิพพานเพิ่มมากขึ้น เสมือนได้นั่งอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระบรมศาสดา กาย วาจา ใจ ของเราจะบริสุทธิ์เกลี้ยงเกลาตามพระองค์ไปด้วย ในตอนนี้จะได้อธิบายเกี่ยวกับหมวดพุทธวจนะ ในพระไตรปิฎก
สมาธิ เป็นสิ่งที่ทำได้ ถ้าได้ทำ
ที่ผ่านมาลูกนั่งสมาธิอย่างไม่มีเป้าหมาย ลูกคิดว่า นั่งสมาธิขอแค่ความสงบ ความสบายก็พอ คือ ขอแค่ให้ได้นั่ง นั่งคือนั่ง ส่วนจะนิ่งรึเปล่า ลูกดูเบาไม่เคยที่จะสังเกตวิธีการที่ทำใจให้นิ่ง และจะนึกเสมอว่า ถ้าจะนั่งเพื่อเข้าถึงพระธรรมกาย นั่นเป็นเรื่องยากสำหรับเรา ลูกคงไม่มีบุญขนาดนั้น ลูกจึงได้พบกับความปวด และความเมื่อยเป็นรางวัล
สมาธิ...ใครๆก็ทำได้ ถ้าได้ทำ
ตั้งแต่ก่อนเริ่มนั่งสมาธิ ดิฉันรู้สึกว่า อากาศที่ สวนเพชรแก้ว เย็นสบาย ทิวทัศน์งดงาม เขียวชอุ่ม ทุกที่มีเสียงแมลงและเสียงนกร้องให้เพลินใจ เมื่อดิฉันหลับตาวางใจนิ่งๆ ปล่อยใจให้ติดอยู่ที่ศูนย์กลางกาย สักพักใจก็หยุดนิ่งสนิทมาก สัมผัสได้ถึงความรู้สึกบางเบา และอ่อนนุ่มจริงๆค่ะ ร่างกายโล่ง โปร่ง ว่างเปล่า คล้ายแก้ว คล้ายเพชรใสๆ
วัดพระธรรมกายแมนเชสเตอร์ พาลูกเสือศึกษาพระพุทธศาสนา
วัดพระธรรมกายแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ ได้ต้อนรับลูกเสือชาวท้องถิ่นที่มาศึกษาพระพุทธศาสนาททที่วัดพระธรรมกายแมนเชสเตอร์
ไทยปรับเวลาใหม่ ให้ตรงกันทั่วปท. บังคับใช้เริ่ม23สค.
อภินิหารของการทำโยคะ-สมาธิ บังคับยีนให้รวมหัวกันต้านเครียด
คิดผิดคิดใหม่ได้ (๓)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาล ๔ อย่างที่บุคคลบำเพ็ญโดยชอบ ให้เป็นไปโดยชอบ ย่อมให้ถึงความสิ้นอาสวะโดยลำดับ กาล ๔ นี้คือ การฟังธรรมตามกาล การสนทนาตามกาล การสงบตามกาล และการพิจารณาตามกาล กาล ๔ อย่างนี้ อันบุคคลบำเพ็ญโดยชอบ ให้เป็นไปโดยชอบ ย่อมให้ถึงความสิ้นอาสวะโดยลำดับ