ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 88
เมื่อพระเจ้าวิเทหราชทรงสดับคำ พยากรณ์นั้นแล้ว ก็ทรงเข้าพระทัยเนื้อความของปัญหาอย่างแจ่มแจ้ง ปริศนานั้นจึงกระจ่างแจ้งแก่พระหฤทัยของท้าวเธอ ดุจเผยสุริยมณฑลให้มาปรากฏท่ามกลางนภากาศ แม้เทวดาผู้เป็นเจ้าของปัญหานั้นเล่า ก็ปลื้มปีติเกินประมาณ รีบเผยกำพูฉัตรออกมาสำแดงกายกึ่งหนึ่งให้ปรากฏ พลางเปล่งสาธุการด้วยเสียงทิพย์อันกังวาน
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ไม่ควรประมาทในชีวิต
พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พลางทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงเรื่องราวต่างๆ ของมนุษย์ว่า ทำไมอายุของมนุษย์ในแต่ละยุคแต่ละสมัย มีความสั้นยาว ไม่เท่ากัน บาง ยุคมนุษย์มีอายุตั้ง ๘๐,๐๐๐ ปี และทำไมบางยุค อายุของมนุษย์สั้นเหลือเพียง ๑๐ ปี พระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต จะนิยมลงมาอุบัติในโลกมนุษย์ ในยุคที่มนุษย์มีอายุยืนยาวสักเท่าใด
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ประมาทแล้วต้องตั้งต้นใหม่ (๒)
เมื่อวันเวลาล่วงเลยไปหลายปี จากพราหมณ์หนุ่มก็กลายมาเป็นพราหมณ์แก่ชรา และได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส แต่ยังมีสติอยากจะฟังธรรมิกถาจากพระสารีบุตร จึงสั่งคนรับใช้ให้ไปบอกพระเถระว่า บัดนี้ตนเองป่วยหนัก ได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส ถ้าพระคุณเจ้า สะดวกขอให้มาโปรดด้วยเถิด
ใจหยุด สุดยอดปาฏิหาริย์
ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ คืออิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ภิกษุนั้นแล เป็นผู้สำเร็จถึงที่สุด เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดา และมนุษย์ทั้งปวง
สละชีวิตเป็นทาน (ปรมัตถบารมี)
มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาความสุข ความอบอุ่นใจ และความปลอดภัยในชีวิต ทุกคนพยายามเสาะแสวงหาที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง แต่หลายชีวิตไม่อาจรู้ว่า
บุญเท่านั้นที่ปรารถนา
บัณฑิตทั้งหลาย สรรเสริญความไม่ประมาทในการสั่งสมบุญ เพราะผู้ไม่ประมาทย่อมยึดเอาประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือประโยชน์ในปัจจุบันนี้และประโยชน์ในสัมปรายภพ
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ่ง บัณฑิตทราบเนื้อความนั้นตามความจริงแล้ว พึงกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน เพราะพระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
เหตุที่นำความสุขมาให้
ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นเหตุนำสุขมา การแสดงธรรมของสัตบุรุษ เป็นเหตุนำสุขมา
ความต้องการของคน 6 ประเภท
ธรรมดากษัตริย์ทั้งหลาย ย่อมประสงค์โภคทรัพย์ นิยมปัญญา มั่งใจในกำลังทหาร ต้องการในการได้แผ่นดิน มีความเป็นที่สุด
พระพุทธลีลา
พระ ผู้เป็นนาถะของโลก ทรงสมบูรณ์ด้วยจรณะ ไม่ก้าวพระบาทยาวในที่ไกลมาก ไม่ก้าวพระบาทถี่ในที่ใกล้มาก เสด็จดำเนินไม่เสียดสีพระชานุ และข้อพระบาททั้งสอง เสด็จดำเนินไม่เร็วนักไม่ช้านัก ขณะเสด็จดำเนินก็มีสมาธิ พระหฤทัยตั้งมั่น ไม่ทอดพระเนตรขึ้นเบื้องบน หรือลงเบื้องต่ำ ทอดพระเนตรเพียงชั่วแอก มีพระอาการเยื้องกรายคล้ายพญาช้าง ทรงทำโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้ร่าเริง ทรงงดงามดุจดวงจันทราในยามรัตติกาล