มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - สู่หนทางสวรรค์
ชีวิตของมนุษย์ในสมัยก่อนนั้นยาวนานมาก แม้กระนั้นผู้มีบุญก็ไม่ประมาทในชีวิต เพราะมองเห็นทุกข์ เห็นโทษของการเกิด แก่ เจ็บ ตาย แต่ปัจจุบันอายุของมนุษย์โดยเฉลี่ยเพียง ๗๕ ปีเท่านั้น ชีวิตจึงเป็นของน้อย เราไม่ควรประมาท เพราะความตายอาจพรากชีวิตเราได้ทุกขณะ เพียงแค่หายใจเข้าไม่หายใจออก หรือหายใจออกไม่หายใจเข้าก็ตายแล้ว
วิธุรบัณฑิตบําเพ็ญสัจจบารมี (1)
นรชนผู้กำหนัดในกาม ยินดีในกาม หมกมุ่นอยู่ในกาม กระทำบาปกรรมแล้ว ย่อมเข้าถึงทุคติ ส่วนนรชนเหล่าใด ละกามทั้งหลายได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ บรรลุความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว นรชนเหล่านั้นย่อมไม่ไปสู่ทุคติ
แนวคิดการบำเพ็ญบารมี_2
พระตถาคตเจ้าทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นมาก็ เพื่อประโยชน์สุขแก่คนหมู่มาก ทรงบำเพ็ญประโยชน์ทั้งแก่สตรี และบุรุษ ผู้ทำตามคำสอนของพระองค์
ส่องธรรม ล้ำภาษิต : ตนได้ ผู้อื่นเสีย ก็ไม่พูด
การได้ประโยชน์เป็นสิ่งสำคัญ แต่มีบางถ้อยคำแม้เราได้ประโยชน์ก็ไม่ควรพูด ถ้อยคำที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน แม้เราจะได้ประโยชน์ก็ไม่สมควรพูด
ส่องธรรม ล้ำภาษิต : ความดี 4 ประการ
ความดี ๔ ประการ ที่ผู้ครองเรือนพึงมี เมื่อมีขึ้นแล้วจะประสบแต่ความสุข เมื่อเป็นผู้ครองเรือนต้องขยัน ไม่ขยันคนอื่นก็เหยียดหยามได้ ทำกิจของตนเองด้วยความหมั่นเพียร ไม่ปล่อยปละธุระ ขยันหาทรัพย์ รู้จักเก็บ รู้จักใช้ ชีวิตก็ปลอดภัยมีสุข
ส่องธรรม ล้ำภาษิต : บอกกล่าวเล่าทุกข์
ผู้ใดพอใครถามถึงเรื่องทุกข์ของตน ก็บอกเขาเรื่อยไป ทั้งที่ไม่ใช่กาลอันควร ผู้นั้นจะมีแต่มิตรชนิดเจ้าสำราญ ส่วนผู้หวังดีต่อเขาก็มีแต่ทุกข์
อานิสงส์ถวายดอกบัวและธงชัย
การบูชาบุคคลผู้ควรบูชาเป็นอุดมมงคลสำหรับชีวิต เป็นทางมาแห่งมหากุศลอันยิ่งใหญ่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าพระอรหันตสาวกล้วนเป็นบุคคลผู้บังเกิดขึ้น ได้ยากในโลก ...
ส่องธรรม ล้ำภาษิต : ไม่กลัวปรโลก
ธมฺเม ฐิโต ปรโลกํ น ภาเยติ ตั้งอยู่ในธรรมแล้ว ไม่ต้องกลัวปรโลก
ชอบทำผิดทั้งๆที่รู้
คำถาม : ทำไมคนส่วนใหญ่จึงชอบทำผิดทั้ง ๆ ที่รู้ว่าผิด
คิดผิดคิดใหม่ได้ (๒)
ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินชีวิตอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้นหลังจากตายไปแล้ว เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แล้วเสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้าเผ็ดร้อนโดยส่วนเดียว ด้วยธรรมจักขุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ทั้งหลาย