วิสาขามหาอุบาสิกา (มหาลดาปสาธน์)
ผู้ที่มาเกิดแล้ว จำจะต้องตายในโลกนี้ ย่อมทำกรรมใดไว้ คือ เป็นบุญและเป็นบาปทั้งสองประการ บุญและบาปนั้นแล เป็นสมบัติของเขา และเขาจะพาเอาบุญและบาปนั้นไปสู่ปรโลก บุญและบาปนั้น ย่อมจะติดตามตัวเขาไป ประดุจเงาติดตามตนไป ฉะนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลพึงบำเพ็ญบุญ สะสมกรรมดีไว้เป็นสมบัติในปรโลก เพราะว่า บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย
มหาเศรษฐีกากวฬิยะ
ภิกษุทั้งหลาย บาปกรรมแม้ประมาณน้อยที่บุคคลบางคนทำแล้ว บาปกรรมนั้น ย่อมนำเขาไปนรกได้ บาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น บางคนทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรมที่ให้ผลในภพปัจจุบัน
ชฎิลเศรษฐี ผู้มีภูเขาทอง
ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จได้แล แม้เมื่อของที่จะให้มีอยู่น้อย ทานก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ การให้ทานที่ให้แม้ด้วยศรัทธาก็ให้ประโยชน์สำเร็จได้ ทานที่ให้แก่บุคคลผู้มีธรรมอันได้แล้ว ยิ่งเป็นการดี อนึ่ง ทานที่บุคคลเลือกให้ ยิ่งเป็นการดี และความสำรวมแม้ในสัตว์ทั้งหลายยิ่งเป็นการดี
เมณฑกเศรษฐีผู้ใจบุญ (๗)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้ผลแห่งการจำแนกทานเหมือนอย่างที่เรารู้ไซร้ สัตว์ทั้งหลายยังไม่ให้แล้วจะไม่พึงบริโภค อนึ่ง ความตระหนี่อันเป็นมลทินจะไม่พึงครอบงำจิตของสัตว์เหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะสัตว์ทั้งหลายไม่รู้ผลแห่งการจำแนกทานเหมือนอย่างที่เรารู้ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงไม่ให้ แล้วบริโภคเสียเอง อนึ่ง ความตระหนี่อันเป็นมลทินจึงยังครอบงำจิตของสัตว์เหล่านั้น
เมณฑกเศรษฐีผู้ใจบุญ (๖)
ธรรมดาพวกมนุษย์ ย่อมไปสู่สำนักของพวกมนุษย์ พวกโคก็ไปสู่ฝูงโค บรรพชิตก็ไปสู่สำนักของบรรพชิต บัณฑิตก็เข้าไปหาพวกบัณฑิต
เมณฑกเศรษฐีผู้ใจบุญ (๔)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การถือประมาณบุญแห่งทักษิณาทานที่ประกอบด้วยองค์ ๖ ประการอย่างนี้ว่า ห้วงแห่งบุญกุศลมีประมาณเท่านี้ นำสุขมาให้ มีอารมณ์เลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ไม่ใช่ทำได้ง่าย โดยที่แท้ บุญแห่งทักษิณาทานนั้น ย่อมถึงการนับว่า เป็นห้วงแห่งบุญกุศลที่จะนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ เป็นกองบุญใหญ่
เมณฑกเศรษฐีผู้ใจบุญ (๕)
ถ้าหากว่าสรรพสัตว์พึงรู้ผลแห่งการจำแนกทาน เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ตรัสแล้ว รู้โดยวิธีที่ผลนั้น เป็นผลใหญ่ไซร้ สัตว์ทั้งหลายพึงกำจัดความตระหนี่อันเป็นมลทินเสีย มีใจผ่องใส พึงให้ทานที่ให้แล้วมีผลมาก
เมณฑกเศรษฐีผู้ใจบุญ (๓)
ทาน ผู้ให้ให้ได้ยาก เพราะต้องครอบงำความตระหนี่ก่อนแล้วจึงให้ได้ การทำทานนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ยากโดยแท้ อสัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่ทำทานตามที่สัตบุรุษทำแล้ว เพราะเหตุนั้น การไปจากโลกนี้ของสัตบุรุษกับอสัตบุรุษจึงต่างกัน อสัตบุรุษย่อมไปนรก สัตบุรุษย่อมไปสวรรค์
เมณฑกเศรษฐีผู้ใจบุญ (๒)
การให้ทาน เป็นเครื่องฝึกจิตที่ยังไม่ได้ฝึก การไม่ให้ทาน เป็นเครื่องประทุษร้ายจิตที่ฝึกแล้ว
เมณฑกเศรษฐีผู้ใจบุญ (๑)
บุญทั้งหลาย เป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทั้งหลายในปรโลก