การกระจายตัวของเจดีย์พระบรมธาตุ
พระอรหันต์ทั้งปวงและพระเจ้าอโศกมหาราชได้ร่วมกันอธิษฐานว่า...เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังมีพระชนม์ชีพอยู่นั้น เคยเสด็จไปยังถิ่นฐานบ้านเมืองหลายแห่ง แล้วทรงหมายสถานที่อันควรแก่การประดิษฐานพระบรมธาตุไว้ จึงขออัญเชิญพระบรมธาตุไปสถิตในที่อันพระพุทธองค์ได้ทรงหมายเอาไว้นั้นเถิด...
สามเณรนิโครธ (๓)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตผู้มีศีลทั้งหลาย เข้าไปหาสกุลใด มนุษย์ในสกุลนั้นย่อมประสบบุญเป็นอันมาก โดยฐานะ ๕ ประการ คือ สมัยใด บรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปหาสกุล จิตของพวกมนุษย์ ย่อมเลื่อมใส สมัยนั้น สกุลนั้นชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาที่ยังสัตว์ ให้เป็นไปพร้อมเพื่อสวรรค์
พระสุภูติเถระ
ท่านจงเจริญพุทธานุสติอันยอดเยี่ยมกว่าภาวนาทั้งหลาย ครั้นเจริญพุทธานุสตินี้แล้ว จักยังมนัสให้บริบูรณ์ จักรื่นรมย์ในเทวโลกตลอดสามหมื่นกัป จักได้เป็นจอมแห่งเทวดาเสวยเทวสมบัติถึง ๘๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ อยู่ในแว่นแคว้น ๑,๐๐๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณานับมิได้ จักได้เสวยสมบัตินั้นทั้งหมด นี้เป็นผลแห่งการเจริญพุทธานุสติ
พระมหากัสสปเถระ (๑)
ชนผู้ปรารถนาอายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สวรรค์ ความเกิดในตระกูลสูง และความเพลินใจ พึงทำความไม่ประมาทให้มากยิ่งขึ้น บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญความไม่ประมาทในการทำบุญ บัณฑิตผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพ
ผู้จรรโลงพระพุทธศาสนา
ผู้ใดมีความเชื่อในพระตถาคต ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว มีศีลอันงาม อันพระอริยะชอบใจ สรรเสริญ มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง บัณฑิตทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่า ไม่เป็นคนขัดสน ชีวิตของบุคคลนั้นไม่เปล่าประโยชน์
ดำรงตนบนหนทางสู่สวรรค์
มารดาบิดา หรือว่าญาติเหล่าอื่น ไม่พึงทำเหตุนั้นให้ได้ แต่จิตอันตั้งไว้ชอบแล้ว พึงทำเขาให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้น
หนวดเต่า เขากระต่าย
การบรรพชากระทำได้ยากแท้ การอยู่ครองเรือนเป็นเรื่องยาก ธรรมะเป็นของลึก การหาทรัพย์เป็นของยาก การเลี้ยงชีพของเราด้วยปัจจัย ๔ ตามมีตามได้ เป็นการยาก ผู้มีปัญญาควรคิดถึงอนิจจตาอยู่เนืองๆ
ชีวิตของนักสร้างบารมี
นรชนเหล่าใด คบหาสัตบุรุษผู้มีปัญญาดี ได้รับยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์ ชนเหล่านั้นตั้งศรัทธาไว้ในพระสุคตเป็นเค้ามูลแล้ว ย่อมไปสู่เทวโลก หรือพึงเกิดในตระกูลสูงในโลกนี้ ชนเหล่านั้นเป็นบัณฑิต ย่อมบรรลุนิพพานโดยลำดับ
ตัณหาไม่สิ้นสุด
โลกอันตัณหาย่อมนำพาไป อันตัณหาย่อมผลักไสไป โลกทั้งหมดเป็นไปตามอำนาจของธรรมอย่างหนึ่ง คือตัณหา บัณฑิตพึงรู้โทษของตัณหาว่า เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ พึงเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่ถือมั่น มีสติอยู่ทุกเมื่อ
ประวัติพระพุทธเจ้า ตอนที่ 1
ประวัติพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน รูปภาพพระพุทธเจ้า การประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน สรุปประวัติพระพุทธเจ้า